ประวัติวัดสัจจธรรมอุเทนถวาย

 


Property on the coasts of the Mediterranean.

เกริ่นนำ

ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๓ พระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม ตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี และเป็นพระวิปัสสนาจารย์สอนธรรมปฏิบัติด้วย การปฏิบัติหน้าที่เจ้าสำนัก และสอนวิปัสสนากรรมฐาน ประกอบการสอนธรรมมะโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และความมีเมตตาของพระอาจารย์ ทำให้ท่านมีลูกศิษย์จำนวนมากที่เลื่อมใสศรัทธาในคำสอน  และติดตามมาร่วมทำบุญและปฏิบัติธรรมจำนวนมาก

วันหนึ่งประมาณปลายปี ๒๕๕๒ มีญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนากลุ่มหนึ่ง  (หลายคน) และศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อสัจจาอีกหลายคน ได้เข้าพบหลวงพ่อสัจจาที่อาคารปฏิบัติธรรม ผู้แทนกลุ่มอาวุโสได้กล่าวรายงานตัวต่อหลวงพ่อแจ้งความประสงค์ที่มาพบว่า จังหวัดชลบุรียังไม่มีวัดที่เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ที่มีชื่อเสียงเป็นของจังหวัดโดยตรงเป็นทางการ หรือยังมีน้อยอยู่

           ทั้งกลุ่มที่มาพบในวันนี้มีความประสงค์จะขอให้พระอาจารย์ก่อสร้างวัดวิปัสสนาสักแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี อยาก

จะให้ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ อำเภอเมืองชลบุรีหรือ อำเภอศรีราชา โดยเลือกเอาพื้นที่ที่เหมาะสมกับงานปฏิบัติธรรม

เข้าไปในเขตพื้นที่อำเภอศรีราชาก็น่าจะดีเพราะมีสวนสัตว์เปิดเขาเขียว นักท่องเที่ยวจะได้เห็นและแวะชมดูวัดด้วย

สำหรับเงินที่จะเริ่มดำเนินงานเบื้องต้นคือการซื้อที่ดินที่ตั้งวัดนั้น

หัวหน้ากลุ่มบอกว่า : ทุกคนที่มาพบพระอาจารย์ในวันนี้ยินยอมพร้อมใจกันเสียสละเงินรวมแล้วประมาณ

๑ ล้านบาทแล้ว และยังมีผู้ศรัทธาจะร่วมมือเสียสละทำบุญอีกมาก  

หัวหน้ากลุ่มบอกว่า : ต้องการให้พระอาจารย์เป็นผู้ทำในการก่อสร้างวัดให้ถูกต้องตามระเบียบราชการกฎหมายบ้านเมืองและตรงตามความปรารถนาของพระพุทธเจ้าศาสดาแห่งพระพุทธศาสนาด้วย

          ทั้งนี้พระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ  ขอเวลาญาติโยมในการตัดสินใจประมาณ ๑ สัปดาห์

          เมื่อครบกำหนด บรรดาญาติธรรมจึงกลับมาที่สำนักปฏิบัติธรรมวิเวกอาศรม เพื่อฟังคำตอบ

ซึ่งหลวงพ่อตอบหนักแน่นว่า : ชีวิตนี้ตั้งใจจะบวชปฏิบัติธรรม เผยแผ่ธรรม ให้ประชาชนผู้สนใจใฝ่ปฏิบัติได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนธรรม เข้าใจธรรม ปฏิบัติธรรม ให้เห็นผลตรงตามพระประสงค์ของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นทาสพุทธศาสนาตลอดชีวิต หากมีโอกาสได้ก่อสร้างวัดก็จะทำตามอุดมการณ์ที่ตั้งใจไว้ได้สะดวกใจมากๆ  ยินดีรับเป็นผู้ทำในการสร้างวัดตามประสงค์ของญาติโยม

หลังจากนั้นอีกประมาณ ๒ สัปดาห์ หัวหน้ากลุ่มได้นำบัญชีรายชื่อผู้ร่วมศรัทธาสร้างวัดเข้ามามอบถวายหลวงพ่อ จำนวน ๗๙ คนรวมเป็นเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐บาท (หนึ่งล้านสามแสนบาทถ้วน)พร้อมที่จะนำเงินมามอบถวายหลวงพ่อ

          พระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ  ให้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบเงินบริจาคนี้เปิดบัญชีฝากธนาคารไว้ก่อน ส่วนหลวงพ่อจะได้พิจารณาเลือกที่ดินที่จะสร้างวัดให้เหมาะสม มีความเงียบสงบ ปลอดภัย วิเวก เหมาะสมกับการเป็นวัดปฏิบัติ เมื่อเลือกที่ดินได้แล้วจะแจ้งให้ทราบ       กำหนดนัดวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและวางเงินมัดจำไว้ และขอให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินส่งมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองทำการก่อสร้างวัดได้เลย

 

 

 

การก่อสร้างวัดสัจจธรรมอุเทนถวาย

พระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ  ได้ตัดสินใจเลือกทำเลที่ดินที่บ้านโป่งดินดำ  ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นที่ดินมีเอกสารสำคัญสำหรับที่ดินเป็นโฉนดที่ดินรวม ๔ แปลง เนื้อที่รวม   ๑๖ ไร่ ๗ ตารางวา ตกลงราคาซื้อขายที่ดิน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกล้านบาทถ้วน)

ในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายต้องวางเงินมัดจำจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เจ้าของที่ดินตกลงมอบการครอบครองที่ดินให้ผู้ซื้อเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินที่ซื้อสร้างวัดได้ตามความประสงค์ ตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลย

          เมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาเสร็จแล้วผู้ขายจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ผู้ซื้อต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป

          ในสัญญาจะซื้อจะขายมิได้ระบุว่า ผู้ซื้อจะต้องชำระราคาซื้อขายที่เหลือให้แล้วเสร็จภายในกี่ปี แต่พูดกันด้วยวาจาว่า “เมื่อได้เริ่มสร้างวัดแล้วจะชำระให้เสร็จโดยเร็ว”

          การทำสัญญาจะซื้อจะขายและวางเงินมัดจำนั้น หลวงพ่อสัจจา สุสจฺโจ เป็นผู้ซื้อ โดยได้มอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้ที่มีชื่อ เป็นตัวแทนเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขาย

          หลวงพ่อสัจจา สุสจฺโจ ได้มอบหมายให้ นายสุวัฒน์ ดุลยวิจารณ์ (อดีตข้าราชการตุลาการ เคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงชลบุรี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๗ ) ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๑

ได้อุปสมบทปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับหลวงพ่อที่ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมเป็นเวลา ๓ เดือน (๑พรรษา)

ได้เป็นผู้ทำสัญญาจะซื้อจะขายและเป็นพยานในสัญญาจะซื้อจะขายด้วย

ภายหลังทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแล้ว หลวงพ่อได้มอบหมายให้ นายธนัท สุขประวิทย์ เป็นสถาปนิก

มาสำรวจพื้นที่เพื่อวางผัง และเขียนแบบผังบริเวณพร้อมกุฎิ และอาคารอเนกประสงค์ ส่วนนายชุมพร อุไรพงษ์ เป็นวิศวกรโยธา ได้เป็นผู้คำนวณอาคารก่อสร้าง สร้างวัดและมีญาติโยมผู้มีจิตศรัทธาสร้างศาสนวัตถุ กุฏิที่พักอาศัยของพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๑๔ หลัง

 

ปฐมผ้าป่าการกุศลปฐมบทของการเริ่มต้นสำนักสงฆ์วิปัสสนาสัจจธรรมเขาเขียว

          ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓  เป็นวันแรกที่บรรดาลูกศิษย์ และญาติธรรมทั้งหลายรวมตัวกันทอดผ้าป่าครั้งแรกที่โรงเจมูลนิธิ เขาเขียวสว่างแสง (เขาเขียวเปาเต็งเต้าถัน) เนื่องจากยังไม่มีสถานที่ที่เหมาะสม แต่ไม่เป็นอุปสรรคต่อเจตนารมณ์ของทุกคน  วันนั้นได้รับเงิน ทั้งสิ้น ๕๗๓,๐๐๐ (ห้าแสนเจ็ดหมื่นสามพันบาทถ้วน)  จากนั้นเริ่มดำเนินการก่อสร้างกุฏิ ๒ หลังแรก เพื่อใช้เป็นที่พำนักสงฆ์ และ ชั้นล่างใช้เป็นที่ทำบุญของญาติโยม

           เมื่องานก่อสร้างกุฏิที่พักอาศัยแล้วเสร็จ หลวงพ่อสัจจาพร้อมพระภิกษุอีก ๖ รูป ได้เดินทางจากสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม เข้าพำนักที่สำนักสงฆ์วิปัสสนาสัจจธรรมเขาเขียว (เป็นชื่อแรกยังไม่เป็นทางการ)

เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๓

          ๒๕  กรกฎาคม ๒๕๕๓ มีการทอดผ้าป่าครั้งที่ ๒ เพื่อรวบรวบรวมปัจจัยสร้างวัดให้ได้มากที่สุด และครั้งนี้ได้ปัจจัยทั้งหมด ๑,๗๐๖,๙๔๗.๒๕ (หนึ่งล้านเจ็ดแสนหกพันเก้าร้อยสี่สิบเจ็ดบาท ยี่สิบห้าสตางค์)

 

 

ทอดกฐินครั้งแรก

          ๗  พฤศจิกายน ๑๕๕๓  เป็นการทอดกฐินของสำนักสงฆ์วิปัสสนาสัจจธรรม เขาเขียว ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักของคนมากมายนัก แต่ในปีนั้นกฐินสามัคคีสามารถรวมเงินทำบุญได้ทั้งหมด ๑,๙๒๐,๙๘๘.๕๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าแสนสองหมื่นเก้าร้อยแปดสิบแปดบาท ห้าสิบสตางค์)

           จากนั้นความเลื่อมใสศรัทธาในตัวพระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ จึงมีเจ้าภาพบุญผู้มีจิตศรัทธาสร้างกุฏิที่พักอาศัยของพระสงฆ์เพิ่มอีก ๘ หลัง สร้างศาลาอเนกประสงค์ใช้เป็นที่พักอาศัยของพระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ ประธานสำนักสงฆ์ และปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สร้างศาลาที่พักผู้ปฏิบัติธรรม ๒ ชั้นจำนวน ๑ หลัง ๘ ห้องพัก และสร้างห้องสุขาสำหรับประชาชนผู้มาร่วมบุญ ๑ หลังจำนวน ๑๕ ห้อง และสร้างศาสนวัตถุอื่น ๆ อีก

 

พัฒนาการของวัดสัจจธรรมอุเทนถวาย

พ.ศ. ๒๕๕๕ ผู้ขายที่ดินให้สร้างวัดได้เร่งรัดให้ผู้รับมอบอำนาจของหลวงพ่อสัจจาผู้ซื้อ ชำระราคาที่ดินให้แล้วเสร็จและจัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน

ผู้รับมอบอำนาจจึงได้ชำระราคาที่ดินให้ผู้ขายครบจำนวน ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกล้านบาทถ้วน) แล้วมีการจดทะเบียนโอนที่ดิน ให้ผู้รับมอบอำนาจต่อทางราชการ

ผู้รับมอบอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้แทนพระอาจารย์ผู้ซื้อตามสัญญาจะซื้อจะขาย

          พ.ศ. ๒๕๕๖ สมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวาย ได้รับเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีโดยคุณวิรัตน์ สุขจิตสำราญ นายกสมาคมเป็นประธาน และสมาคมได้ซื้อที่ดินที่มีแนวเขตติดต่อกับแนวเขตที่ดินของวัดเนื้อที่ ๑ ไร่เศษ ถวายวัดด้วย และท่านนายกสมาคมได้ประกาศถวายที่ดินให้วัดในวันทอดกฐินสามัคคีด้วย

           ต่อมาภายหลังทอดกฐินสามัคคีแล้วเสร็จ สมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวายโดย นายวิรัตน์ สุขจิตสำราญ นายกสมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวายได้ถวายเงินสร้างวัดจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน)

          พ.ศ. ๒๕๕๗ นายธนวรรธน์ วรรธนะภูติ (โป๊บ) พระเอกดาราโทรทัศน์ช่อง ๓ ได้รับเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำเงินสร้างวัด บำรุงวัดได้จำนวน ๗,๘๐๐,๐๐๐ บาท ( เจ็ดล้านแปดแสนบาทถ้วน)

          ต่อมา พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้รับมอบอำนาจซื้อที่ดินสร้างวัดแทนพระอาจารย์สัจจา สุสจฺโจ ประธานสำนักสงฆ์

สัจจธรรมเขาเขียวได้แจ้งให้พระอาจารย์ทราบว่า ผู้ขายที่ดินมีความจำเป็นเร่งรัดให้ผู้รับมอบอำนาจชำระราคาจะซื้อจะขายที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมด อีก ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) ให้ผู้ขายไป และได้จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในชื่อของผู้รับมอบอำนาจไว้เรียบร้อยแล้ว

          บัดนี้ผู้รับมอบอำนาจมีเหตุจำเป็นต้องชำระหนี้เงินที่กู้ยืมเงินมาจากธนาคารพาณิชย์ และต้องชำระดอกเบี้ยด้วย นอกจากค่าที่ดิน ๕ ล้าน บาทแล้ว ผู้รับมอบอำนาจยังได้ออกเงินค่าก่อสร้างแทนวัด เป็นจำนวนหนึ่งด้วย ขอให้วัดชดใช้คืนให้ผู้รับมอบอำนาจด้วย รวมเป็นเงินที่วัดจะต้องชำระให้ผู้รับมอบอำนาจทั้งหมดเป็นจำนวน ๑๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ( สิบสองล้านบาทถ้วน )

          วัดทราบจำนวนหนี้ที่จะต้องชำระแน่นอนแล้ว วัดได้ชำระหนี้ราคาที่ดินทั้งหมดและเสียค่าต่างๆในการดำเนินการโอนที่ดินด้วย ส่วนหนี้อื่นๆที่ยังค้างชำระอยู่ก็จัดการชำระให้แต่เงินก็ยังขาดอีกจำนวนหนึ่ง

          ศิษย์เก่าอุเทนถวายได้ทราบเรื่องขอทราบจำนวนหนี้และถวายเงินชำระหนี้ที่เหลือทั้งหมดให้วัดเป็นอิสระหมดหนี้สินไป

           ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ ได้จัดทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคี วางศิลาฤกษ์อุโบสถ ๒ ชั้น ซึ่งชั้นบนใช้ปฏิบัติกิจกรรมของสงฆ์ ส่วนชั้นล่างใช้ปฏิบัติธรรม โดยมี ฯพณฯดร.ชาญชัย ชัยรุ่งเรือง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และ ผศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี เป็นประธานวางศิลาฤกษ์ 

          ขนาดอุโบสถ กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร x ยาว ๒๕.๐๐ เมตร รวม ๓๐๐ ตารางเมตร ใช้ปฏิบัติศาสนกิจสามารถรองรับพระภิกษุได้ ๑๐๐ รูป และคฤหัสถ์ ๑๐๐ คน ในส่วนของชั้นล่างใช้ประโยชน์ในการอบรม ประชุม สวดมนต์ และปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ได้มากกว่า ๒๐๐ คน

          ๒๓  กันยายน  ๒๕๕๘  พระอาจารย์สัจจา  สุสัจโจ  ได้มอบหมายให้นายสุวัฒน์  ดุลยวิจารณ์ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงชลบุรี เป็นตัวแทนทำเรื่องเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อขออนุญาตสร้างวัดอย่างเป็นทางการ  และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ ๑๒  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          ๒  มีนาคม ๒๕๕๙  ทำเรื่องรายงานขอตั้งวัดถึงนายอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี  หลังจากได้รับการตอบรับให้สร้างวัดจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

          ๓๐  มีนาคม ๒๕๕๙  พระอาจารย์สัจจา  สุสจฺโจ  ได้มอบหมายให้นายสุวัฒน์  ดุลยวิจารณ์ ทำเรื่องเสนอขออนุญาตตั้งวัดต่อผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตามระเบียบอีกครั้ง อย่างเป็นทางการ        

 (ศิษย์เก่าอุเทนถวายได้มีความศรัทธาเสนอตัวเป็นประธานอุปถัมภ์วัดให้เจริญมั่นคงรุ่งเรืองตลอดไป จะได้วัดเป็นศูนย์รวมใจศิษย์เก่าอุเทนถวาย และขอให้ชื่อวัดมีคำว่า "อุเทนถวาย" ด้วยหนึ่งคำ ) โดยชื่อวัดที่เสนอขอไปนั้น เดิมชื่อว่า

“วัดสัจจธรรมอุเทนถวายเขาเขียว” แต่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ให้ตัดคำว่าเขาเขียวออก จึงเป็นที่มาของชื่อ “วัดสัจจธรรมอุเทนถวาย” เป็นวัดลำดับที่ ๖๔ ของ อำเภอศรีราชา และมีสำนักวิปัสสนาสัจธรรมเขาเขียว ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย โดยใช้อุโบสถชั้นล่างเป็นที่อบรม ประชุม สวดมนต์ และปฏิบัติธรรม มีความสะดวกสบายมาก

          ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐  พระอาจารย์สัจจา  สุสจฺโจ  ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสัจจธรรมอุเทนถวาย อย่างเป็นทางการ ในนามพระอธิการสัจจา  สุสจฺโจ

          เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เมื่ออุโบสถก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ ๙๐ ได้ยื่นเรื่องขอพระราชทานวิสุงคามสีมาต่อทางราชการ

          ๑๓  กรกฎาคม ๒๕๖๓  สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา โดยมี พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการทั้งนี้  ได้มีประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗ ตอนพิเศษ ๑๖๘ง  ลงวันที่ ๒๓ กรกฎาคม  ๒๕๖๓

๑๐ ตุลาคม ๒๕๖๓  พระอธิการสัจจา  สุสจฺโจ  ไปรับใบประกาศวิสุงคามสีมา จากวัดประยูร

วงศาวาสวรวิหาร  กรุงเทพมหานคร โดยพระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร และกรรมการ

มหาเถรสมาคม เป็นผู้มอบอย่างเป็นทางการ

วันศุกร์ที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๖๕  (ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔) เวลา ๑๖.๐๐ น. วัดสัจจธรรมอุเทนถวายได้ทำพิธีปักเขตวิสุงคามสีมา โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากนายนิติ  วิวัฒน์วานิช  นายอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นประธาน

ฝ่ายฆราวาส และ พระเทพชลธารมุณี  เจ้าคณะจังหวัดชลบุรี  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์

 

*****************************